Friday, October 15, 2010

Zara สำเร็จได้อย่างไร

“ZARA” ซึ่งเป็นแบรนด์เสื้อผ้าที่ประสบความสำเร็จมาก
แบรนด์ดังๆ ของโลก มักจะเป็นแบรนด์ ดีไซน์เนอร์
ซึ่งเกิดจากการที่มีดีไซน์เนอร์คนนึง กำหนดแบบ กำหนดเทรนด์ออกไป แล้วทำเสื้อผ้าออกขาย…
แต่ซาร่าไม่ได้ทำเช่นนั้น
ซาร่าไม่ได้เป็นต้นกำเนิดในการคิดค้นรูปแบบเสื้อผ้าอะไรเลย
เขาอาศัยดูว่าตามแคทวอล์กมีเสื้อผ้ายี่ห้อไหน เดินบ้าง มีแบบใหม่ๆ อะไรน่าสนใจบ้าง…
ดึงแบบตรงนั้นออกมา แล้วก็นำออกสู่ตลาดให้เร็วที่สุด
อันนี้คือไอเดียหลักของซาร่า ที่เอารูปแบบเสื้อผ้าที่คนนิยม
…แปลงออกสู่ตลาดให้เร็วที่สุด
บ่อเกิดความได้เปรียบเชิงการแข่งขันในการทำธุรกิจนั้นมีอยู่ 2 บ่อเกิด
หนึ่ง…เรียนรู้เกี่ยวกับลูกค้าให้เร็วกว่าคู่แข่ง
สอง…นำสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับลูกค้านั้นมาลงสู่ภาคปฏิบัติให้เร็วกว่าคู่แข่ง
และนี่ก็คือเคล็ดลับของ “ZARA”
“ZARA” เป็นแบรนด์ของสเปน
พูดถึงเสื้อผ้า เราคิดถึงฝรั่งเศส คิดถึงอิตาลี แต่ไม่มีใครคิดถึงสเปน
เพราะฉะนั้นการที่ ซาร่าประสบความสำเร็จได้ทั้งๆ ที่เป็นแบรนด์จากสเปน แสดงว่าต้นสังกัดของประเทศไม่มีความสำคัญอีกต่อไป
ประเทศไทยก็สามารถที่จะเป็นเมืองแฟชั่นได้ แต่ไม่ใช่ไปขึ้นรถบุปชาติ แล้วก็กระโดดโลดเต้นอยู่บนรถสิบล้อ
…อย่างนั้นเกิดไม่ได้
การที่ซาร่าจากประเทศสเปนประสบความสำเร็จมาก มันก็ได้บ่งบอกว่า แบรนด์จากประเทศไหนนั้นไม่สำคัญแล้ว
คุณจะอยู่ประเทศไหนก็ตามแต่ หากว่าคุณมีโมเดล หรือรูปแบบการทำธุรกิจที่ดี
คุณอาจจะประสบความสำเร็จได้
ซาร่า เป็นแบรนด์ของสเปน ซึ่งแต่เดิมธุรกิจของซาร่าเป็นธุรกิจที่ทำด้านสิ่งทออยู่แล้ว แต่เขาคิดค้นวิธีให้แบรนด์ซาร่ามีรูปแบบทางธุรกิจที่ต่างจากสิ่งทอที่เขาเคยทำมา
เขามองว่า จริงๆ แล้วคนอยากได้เสื้อผ้าที่มีดีไซน์ แต่ว่าใส่ได้ในโลกแห่งความเป็นจริง
…โจทย์ของเขาก็เลยเป็นการมองหาแรงบันดาลใจที่ได้จากเสื้อผ้าจากดีไซน์เนอร์ต่างๆ ที่เดินบทแคทวอล์ก
แล้วแปลงออกมาในรูปแบบที่ผู้คนต้องการ
ในเวลาที่รวดเร็วที่สุด..
ในราคาที่ทุกคนซื้อได้…
ลักษณะเช่นนี้อาจเรียกว่าเป็น Fast Fashion ก็ได้…
นั่นคือจากขั้นตอนแรกตั้งแต่การออกแบบ มาจนถึงวางขายในร้านนั้น ใช้เวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์
ในขณะที่อุตสาหกรรมแฟชั่นโดยปกตินั้น ต้องใช้เวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งใช้เวลามากกว่าซาร่าถึง 4 เท่า
ถ้าจะให้เห็นกระบวนการของซาร่านั้น เราจะเริ่มเห็นได้จากทีมของเขา ซึ่งมีทีมออกแบบอยู่จำนวนมากที่สำนักงานใหญ่
จากนั้นก็มีทีมงานไปสังเกตที่งานแคทวอล์กใหญ่ๆ
เมื่อเขาได้ไอเดียมาก็จะปรึกษากับผู้จัดการสาขาของร้านค้าปลีกของซาร่า ซึ่งเขาจะรู้ว่าแบบไหนขายดี แบบไหนขายไม่ดี
และก็ตัดสินใจร่วมกันว่าจะผลิตแบบใดขึ้นมา
ต่อจากนั้นก็เริ่มผลิตต้นแบบด้วยคอมพิวเตอร์ในเวลาอันรวดเร็ว แล้วก็จะกระจายแบบออกไปตามเครือข่ายการผลิตซึ่งส่วนใหญ่ก็อยู่ในประเทศสเปน
และก็ส่งกลับเข้ามาเพื่อพะยี่ห้อลงไปเป็นรายละเอียดสุดท้าย ก่อนที่จะมีการกระจายเสื้อผ้าออกจากศูนย์การกระจายสินค้าไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ซึ่งใช้เวลาตั้งแต่ขั้นตอนแรกจวบจนกระบวนการสุดท้ายนั้นเพียง 15 วันเท่านั้นเอง
ซาร่าจะไม่ใช้วิธีการโฆษณา
งบประมาณในการทำการตลาดของซาร่านั้นส่วนใหญ่จะลงไปที่การหาทำเลของร้านค้าที่ดีที่สุดในย่านแฟชั่นของประเทศต่างๆ และก็จ่ายไปตรงนั้น
และตกแต่งร้านค้าอย่างดี เพื่อให้เกิดการตลาดแบบ “ปากต่อปาก” ขึ้นเอง
ลักษณะแบบของสินค้า “ซาร่า” นั้นจะเหมือนกับสินค้าของแบรนด์ชั้นนำระดับโลก
ซึ่งราคาสินค้าของแบรนด์ชั้นนำระดับโลกนั้น คนเดินดินคงจะหาซื้อได้ลำบาก
ซาร่าก็ไปแกะแบบพวกนั้นมาแล้วปรับเล็กน้อยเพื่อไม่ให้มีปัญหาด้านลิขสิทธิ์
คนอื่นก็จะ outsourcing ไปที่จีน
แต่ซาร่าไม่ทำ เพราะคิดว่าหากทำแบบนั้นจะมีปัญหาด้าน Logistic
มีปัญหาเรื่องของการจัดส่ง
เขาจึงกระจายแต่เพียงในสเปน ให้นักออกแบบในสเปนทำ
ในโลกของอุตสาหกรรมแฟชั่นนั้น “ความเร็ว” ในการออกตัวสินค้าเป็นปัจจัยตัวหนึ่งในการกำหนดความสำเร็จ
สินค้าแฟชั่นของแบรนด์ชั้นนำของโลกต้องใช้เวลา 2 เดือนซึ่งถือว่าช้ามาก
เพราะฉะนั้นหากเราจะไปแข่งกับแบรนด์ชั้นนำเหล่านี้เราต้อง…
…ทำให้เร็วกว่า
…ทำให้ถูกกว่า
แบรนด์ระดับโลกนั้นอาจจะใส่เดินถนนไมได้ แต่ว่าแบรนด์ ซาร่าสามารถที่จะใส่เดินถนนได้
เพราะฉะนั้นแบรนด์ “ซาร่า” ซึ่งเป็นแบรนด์อะไรก็ไม่รู้สามารถ “เกิด” ขึ้นมาได้เลย

No comments:

Post a Comment