ถ้าไปถามนักธุรกิจทั่วโลกว่าใครเป็น Guru ในดวงใจ
จำนวนมากต้องตอบว่า ปีเตอร์ เอฟ.ดรักเกอร์
แต่ถ้าไปถามว่าใครคือนักมืออาชีพที่น่าสนใจใคร่ติดตาม
ผมเชื่อว่าชื่อแจ็ค เวลส์ คงหลุดจากปากซีอีโอทั่วโลกนับไม่ถ้วนทีเดียว
แม้เขาจะลงจากตำแหน่งซีอีโอไปนานถึง 5 ปีแล้วก็ตาม
เวลส์และภรรยาของเขา ซูซี่(ซึ่งเป็นอดีตบรรณาธิการบริหารนิตยสาร Harvard Business Review) มาเขียนตอบคำถามหน้าสุดท้ายของนิตยสาร BusinessWeek ในคอลัมน์ The Welch Way ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูง
จดหมายที่ถามแจ็ค เวลส์ นั้นมาจากทั่วทุกสารทิศ อเมริกา ยุโรป เอเชีย อาฟริกา
แจ็คก็ตอบคมเหลือเกิน ยิ่งได้ศรีภริยาซึ่งเป็นอดีตบรรณาธิการมือดีมาช่วยตอบด้วยแล้ว อย่าได้พลาดสักฉบับทีเดียวเชียว
มีคำถามหนึ่งที่ผมคิดว่าน่าสนใจ
เขาถามว่า “ควรจะทำงานกับนายดี ในบริษัทที่กำลังแย่ หรือทำงานกับนายเลว แต่บริษัทกำลังรุ่งเรือง”
ก่อนอื่นมาดูคำจำกัดความของนายที่ดี และนายที่เลวเสียก่อน
นายที่ดีนั้นทำให้การทำงานสนุก
Making work Fun ก็หมายความว่า การทำงานก็เหมือนกับไม่ทำงาน เมื่อใดตามที่ลูกน้องทำงานด้วยความสนุก แต่ถ้าไม่ enjoy กับการทำงานเมื่อไหร่ รับรองได้ว่าผลงานออกมาแบบดีแน่นอน
นายที่เลวนั้นตรงกันข้ามกับนายที่ดี
ผมนั้นเคยเจอนายเลวมาก็มาก นายที่ดีก็มี
นายเลวนั้น บทจะเลว ก็เลวสิ้นดี คุณพิชัย editor-in-chief ก็รู้จักดีเพราะเผชิญความเลวของคนๆนี้ไม่เหมือนกัน
นายเลวนั้นส่วนใหญ่จะเข้าใจวัฒนธรรมองค์กร
วัฒนธรรมองค์กรนั้นก็คือ “หลักยึด” ที่มองไม่เห็น
ใครก็ตามที่กลมกลืนกับวัฒนธรรมองค์กรได้
ก็จะอยู่ยั้งยืนยง
การเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรนั้น ใช่ว่าทำไม่ได้
ขึ้นอยู่กับว่า “คุณเป็นใคร”
ถ้าคุณเป็นผู้นำองค์กร ก็ไม่มีปัญหาอะไรหรอก เพราะคุณนั่นเองแหละที่เป็นผู้กำหนดวัฒนธรรม ซึ่งก็คือวัฒนธรรมการทำงานนั่นเอง
นายที่เลวนั้นคือนายที่ทำงานด้วยแล้วไม่สนุก
อยู่ด้วยแล้วอึดอัด จะทำอะไรก็ไม่เป็นธรรมชาติ ได้แต่ภาวนาให้เวลาหมดไปวันๆ
นายเลวนั้นชอบบี้ลูกน้อง ไม่สอน เอาแต่ใจตนเอง
ขณะที่นายดีจะช่วยลูกน้อง ปกป้องลูกน้อง ทำตัวเหมือนเพื่อนเก่าที่หายไปนาน
และพฤติกรรมของนายดีแบบนี้ จะทำให้นายอยู่ยาก หากลูกน้องไม่แสดงผลงาน
เพราะนายดีจะอ้าแขนปกป้องลูกน้อง จนในที่สุดถูกการเมืองในองค์กรเล่นงาน
แจ๊ค เวลส์ ให้คำแนะนำในช่วงท้ายว่า
“ถ้าองค์กรดีจริง ถึงจะมีนายเลว ก็ขอให้อดทนไว้ เพราะนายเลว สุดท้ายก็เปลี่ยนได้”
No comments:
Post a Comment